ตัวเสริมคุณสมบัติงานเรซิ่น (Ancillary)

ตัวเร่งปฏิกิริยา (Accelerator)
ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าโคบอลต์ (Cobalt Naphthenate) หรือตัวม่วง: มีลักษณะเป็นของเหลวสีม่วงทำหน้าที่เป็นตัวช่วยเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการแข็งตัวของเรซิ่น โดยมีทั้งสูตรเข้มข้น 10% และสูตรเจือจาง 1%


ตัวทำแข็งเรซิ่น (Hardener)
หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ตัวฮาร์ด”: เป็นสารเคมีในกลุ่ม MEKPO ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเปลี่ยนเรซิ่นจากพลาสติก ”เหลว” ให้กลายสภาพเป็นของ ”แข็ง”  
• โดยทาง บริษัทฯ เป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว (exclusive dealer) ของตัวทำแข็งยี่ห้อ Luperox DDM-F  มาเกือบ 20 ปีโดยตัวทำแข็งยี่ห้อ Luperox DDM-F มีจุดแข็งที่หาได้ยากคือเรื่องความเสถียรและความเข้มข้นของสารเคมีในส่วนของ Active Oxygen ซึ่งเป็นผลมาจากเทคโนโลยีการผลิตคุณภาพระดับโลกจากยุโรป ทำให้การใช้งานมีอัตราส่วนที่แน่นอนและแม่นยำช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตให้เป็นไปอย่างราบรื่น

   

ตัวทำแข็งเรซิ่น

image
image
image
ตัวเสริมคุณสมบัติด้านต่างๆของเรซิ่น
• สีผสมเรซิ่น (Resin Pigments) : เป็นสีสำหรับผสมลงไปในเรซิ่นโดยตรงเพื่อให้ชิ้นงานมีสีตามที่ต้องการ
• ใยแก้ว (Fiberglass) : .ใยแก้วมีให้เลือกใช้หลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานในกระบวนการผลิตโดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและการทนสารเคมีให้แก้ชิ้นงาน โดยประเภทของใยแก้ว เช่น
     - ใยแก้วแบบผืน (Chopped Strand Mat) : ใช้สำหรับทำชิ้นงานไฟเบอร์กลาสทั่วไป เพราะใช้งานง่ายและเหมาะสมสำหรับการใช้ในกระบวนการผลิต “แบบทา” (Hand Lay Up)
     - ใยแก้วแบบทอสาน (Woven Roving) : ลักษณะเป็นใยแก้วที่มาสานขัดกันไปมาจนเป็นผืนๆ ทำให้เพิ่มความแข็งแรงของชิ้นงานมากขึ้นและสามารถรับน้ำหนักและแรงกระแทกได้มากยิ่งขึ้น
     - ใยพ่น (Spray Roving): ใช้ควบคู่กับ Spray Gun ในกระบวนการที่ต้องพ่นใยแก้วซึ่งถูกตัดเป็นชิ้นเล็กๆ (chopped fiberglass) ซึ่งต่างจากกระบวนการผลิต “แบบทา” (Hand Lay Up) อย่างมาก
     - ใยพัน (Pultrusion Roving or Filament Roving): เป็นใยแก้วที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในกระบวนการทำงานที่มีรูปแบบในการเสริมความแข็งแรงของชิ้นงานอย่างมีรูปแบบและทำงานได้อย่างต่อเนื่องรวดเร็ว
image
image
image
• ผงเบา (Fumed Silica) : มีหน้าที่หลักคือผสมกับเรซิ่นเพื่อเป็น “สารกันย้อย” หมายถึงช่วยให้เรซิ่นสามารถทำงานใน “แนวตั้ง” ได้ดีไม่ไหลย้อยลงมากองที่พื้น เช่น เหมาะกับงานทาเรซิ่นเป็นแม่พิมพ์ไฟเบอร์กลาสสำหรับอนุสาวรีย์ เป็นต้น
• โมโน (Mono styrene) : มีหน้าที่ลดความหนืดของเรซิ่นลงและเป็นการลดต้นทุนทางอ้อมเนื่องจากโมโนมักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าเรซิ่น การผสมโมโนจึงเป็นการเพิ่มปริมาณของสารผสมซึ่งจะถูกนำไปใช้ในการผลิตเป็นชิ้นงานสำเร็จ
• สารเพิ่มเนื้อของเรซิ่น : มีจุดประสงค์หลักคือนอกจากจะเพิ่มน้ำหนักให้กับชิ้นงานแล้วยังช่วยในเรื่องการประหยัดต้นทุนของชิ้นงานอีกด้วย โดยสารเพิ่มเนื้อของเรซิ่นจะแบ่งเป็น
     - แคลเซียม (calcium): มีต้นทุนที่ค่อนข้างถูก นอกจากจุดประสงค์หลักที่ไว้ใช้ลดการหดตัวของเรซิ่นแล้ว แคลเซียมมักนิยมถูกนำมาใช้ในการเพิ่มเนื้อของเรซิ่นแต่แลกมาด้วยน้ำหนักที่มากขึ้น และมีข้อด้อยคือถ้าใช้มากเกินไปนอกจากชิ้นงานจะไม่เรียบเนียนแล้วยังทำให้ชิ้นงานเปราะแตกได้ง่ายอีกด้วย
     - ทัลคัม (talcum): มีความขาวกว่าและมีขนาดที่เล็กกว่าแคลเซียมและมีต้นทุนที่สูงกว่า จึงให้ความเรียบเนียนกับชิ้นงานที่ทำจากเรซิ่นได้มากขึ้น มักนำมาใช้สำหรับงานโป๊วเก็บรายละเอียดชิ้นงาน
     - ติตาเนียม (titanium): ทำหน้าที่เป็นแม่สีสีขาวเมื่อผสมลงในเรซิ่น
image
image
image
Powered by MakeWebEasy.com